
“ลดเหลื่อมล้ำการศึกษาสืบสานพระราชปณิธานตามพระราชดำริ รร.พระดาบส”
“โครงการอาชีวะ สร้างช่างฝีมือ”เป็นโครงต่อเนื่องจากโครงการพระดาบส ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โครงการพระดาบส ได้ดำเนินการตามพระราชดำริ มาเป็นระยะเวลา 42 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาในการดำเนินการได้มีประชาชนที่มีคุณสมบัติตรงตามโครงการฯ ได้เข้ารับการพัฒนาทักษะอาชีพจำนวนมาก แต่โครงการฯสามารถรับผู้เรียนได้ปีละไม่เกิน 150 คน ทำให้มีผู้สมัครอีกมากที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ผู้บริหารโครงการฯ จึงได้ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้คัดเลือกสถานศึกษาในสังกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการฯตามแนวโครงการฯหลัก โดยให้ชื่อว่า “โครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ” เพื่อพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนผู้ขาดโอกาสในการศึกษา หรือฝึกทักษะอาชีพด้านอื่น ๆ นอกจากอาชีพที่ดำเนินการในครัวเรือน
พระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้ง ถึงเหตุที่ทำให้ราษฎรจำนวนไม่น้อยตกอยู่ในวงจร แห่งความทุกข์เข็ญ โดยเฉพาะผู้ยากไร้ขาดโอกาสเล่าเรียน ไม่มีอาชีพ ไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ ทรงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรเสมอมา พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ เลขาธิการคนแรกของมูลนิธิ พระดาบสถ่ายทอดพระราชกระแสพระราชทานในเรื่องนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ความตอนหนึ่งว่า
“…ขณะนี้ยังมีบุคคลอีกเป็นจ ำนวนมาก ที่มีความตั้งใจจริง มีศรัทธาขวนขวายหาความรู้เป็นวิชาชีพใส่ตน แต่ประสบปัญหา ไม่มีความรู้พื้นฐาน และไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาวิชาชีพระดับต่าง ๆ ได้ หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ ให้มีความรู้วิชาชีพที่เขาปรารถนา ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้…”
หลักในการดำเนินการของโครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ
ฝึกอาชีพให้กับประชาชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา และต้องการฝึกประสบการณ์อาชีพที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ทันทีหลังส าเร็จการศึกษาจากโครงการฯ
ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษา แต่ขอให้อ่านและเขียนภาษาไทยได้ คำนวณเลขอย่างง่ายได้ เช่น รู้หลักการและวิธีในการบวก ลบ คูณ หาร
ตลอดระยะเวลาในการศึกษา 1 ปี จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ( ยกเว้น ทำทรัพย์สินของราชการเสียหาย
ความตั้งใจ หรือขาดสติ )
ระยะเวลาในการฝึกอาชีพในโครงการฯ
ระยะเวลา การเรียนและฝึกประสบการณ์ทักษะอาชีพ จำนวน 1 ปีประกอบด้วย
เรียนรู้และฝึกทักษะประสบการณ์ในงานอาชีพเบื้องต้นในวิทยาลัยเป็นเวลา 6 เดือน
ฝึกทักษะความชำนาญเฉพาะทางอีก เป็นเวลา 3 เดือน
ฝึกงานในสถานประกอบการอีก 2 เดือน จากสถานประกอบการ
กลับสู่วิทยาลัยฯ เพื่อเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวก่อนเข้าสู่อาชีพ รวมทั้งการจัดส่งชิ้นงานเอกสารที่ค้างส่งกับครูผู้สอนให้เรียบร้อย เป็นเวลา 1 เดือน
ทักษะงานอาชีพที่ฝึก
ทักษะงานอาชีพที่ฝึก
ฐานเตรียมช่าง 10 ฐานฝึก ได้แก่
- ทักษะงานช่างไฟฟ้า
- ทักษะงานช่างเชื่อม
- ทักษะงานช่างยนต์ (เน้นช่างยนต์เล็ก)
- ทักษะงานเขียนแบบ
- ทักษะงานตะไบ
- ทักษะงานช่างไม้
- ทักษะงานช่างอิเล็กทรอนิกส์
- ทักษะงานช่างก่อสร้าง (งานปูน / งานปูกระเบื้อง)
- ทักษะงานนิวเมติกส์
- ทักษะงานตีเหล็ก
ฐานทักษะชีวิต 2 ฐานฝึก ได้แก่
- ฐานทักษะชีวิตวันเสาร์
- ฐานเกษตรพอเพียง
สภาพความเป็นอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ
วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง ได้จัดเตรียมอาคารที่พัก พร้อมเครื่องนอน ให้ผู้เรียนทุกคน โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง ได้จัดเตรียมอาหาร หรือวัสดุปรุงอาหารให้ผู้เรียนวันละ 3 มื้อ ตลอดการเรียน โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง จัดเตรียมอุปกรณ์พยาบาล ยารักษาโรคทั่วไป ประจำอาคารที่พักและจัดห้องนันทนาการ เพื่อให้ผู้ได้พักผ่อนหลังเสร็จภาระกิจการเรียนในแต่ละวัน
วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง เตรียมอุปกรณ์เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการศึกษาให้ผู้เรียนได้ใช้งาน รวมทั้งระบบ อินเตอร์เนท คลอบคลุมพื้นที่ในวิทยาลัยฯ
วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ในการฝึกอาชีพทุกอาชีพให้ผู้เรียนใช้ประจำตัว คนละ 1 ชุด ทุกช่างอาชีพ
วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง มอบชุดปฏิบัติงานให้ผู้เรียน ประกอบด้วย
เสื้อชอร์ปปฏิบัติงาน 1 ตัว
เสื้อยืดปฏิบัติงาน 2 ตัว
รองเท้าเซพตี้โรงงาน 1 คู่ ( เฉพาะเรียนในฐานช่างยนต์และช่างเชื่อม )
สิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเตรียม และปฏิบัติระหว่างการฝึกทักษะอาชีพในโครงการฯ
วันรายงานตัว แต่งกายให้สุภาพ เสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงขายาวสีกรมท่าหรือสีดำ ห้ามใส่กางเกง
ยีนส์ สวมรองเท้าสีด า ที่สุภาพ ห้ามใส่รองเท้าแตะ รวมทั้งสิ่งของที่ควรเตรียมตัว ดังนี้
กางเกงขายาวสีกรม หรือสีดำ จำนวน 2 – 3 ตัว
กางเกงขาสั้นสำหรับใส่เล่นกีฬา จำนวน 2 ตัว
เสื้อสำหรับใส่นอน, ออกกำลังกาย จำนวน 2 ตัว
เสื้อเชิ้ตสีสุภาพ จำนวน 1 ตัว
ไม้แขวนเสื้อ ตามความจำเป็นต้องใช้
ที่หนีบผ้า ตามความจำเป็นต้องใช้
ผ้าเช็ดตัว/ผ้าขาวม้า จำนวน 1 ผืน
รองเท้าแตะ จำนวน 1 คู่
รองเท้าผ้าใบ (สีดำ,ขาว) จำนวน 1 คู่
ถุงเท้าสีดำ จำนวน 3 คู่
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 5 ชุด
อุปกรณ์ของใช้ประจำตัว (สบู่,ยาสีฟัน,แชมพู, แปรงสีฟัน, มีดโกนหนวด ฯลฯ)
**หมายเหตุ
ห้ามนำสิ่งของนอกเหนือจากที่กำหนดข้างต้น หรือสิ่งของมีค่าต่าง ๆ เข้ามาตั้งแต่วันรายงานตัวและระหว่างการศึกษา หากฝ่าฝืนทางโครงการฯ จำเป็นต้องยึดสิ่งของนั้น ๆ ไว้
ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องมารายงานตัวพร้อมกับผู้ปกครองหรือผู้แทน ในวันที่ ได้รับแจ้ง พร้อมผู้ปกครองหรือผู้แทนผู้ปกครอง หากผู้ปกครอง หรือ ผู้แทน ไม่มามอบตัวผู้เรียนและฟังคำชี้แจงถือว่าสละสิทธิ์
การปฏิบัติตนระหว่างการฝึก
นอกจากผู้เรียนจะฝึกทักษะอาชีพแล้ว เพื่อให้การปกครองเป็นไปตามระเบียบและเรียบร้อย ผู้เรียน จะต้องปฏิบัติตน ดังนี้
สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่สร้างความแตกแยกหรือทะเลาะวิวาท
ปฏิบัติตนตามตารางการปฎิบัติในแต่ละวัน อย่างเคร่งครัด
ไม่แสดงหรือมีพฤติกรรมเสพสิ่งเสพย์ติดและสิ่งมึนเมา
ร่วมรักษาความสะอาดของบริเวณ ที่รับผิดชอบ
ไม่ปฏิบัติตนที่ขัดแย้งกับระเบียบของโครงการฯกำหนดไว้
ร่วมกิจกรรมภายในกลุ่มหรือกิจกรรมที่วิทยาลัยฯ กำหนด หากผู้เรียนมีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎระเบียบหรือไม่ปฏิบัติตาม คณะครูผู้บริหารโครงการฯ จะร่วมกันพิจารณาโทษ และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ ผลพิจารณาโทษ เพื่อดำเนินการลงโทษตามผลการพิจารณาต่อไป
รูปแบบการฝึก
ผู้เรียนฝึกทักษะอาชีพพื้นฐานตามฐานฝึกภายในวิทยาลัยเทคนิคแม่สอด หมุนเวียนฐานฝึก ฐานฝึกละ 8 วัน รวมเวลา 6 เดือน ฝึกสัปดาห์ละ 5 วัน หยุดพักผ่อน วันเสาร์และอาทิตย์
หลังจากฝึกทักษะอาชีพพื้นฐานในวิทยาลัยฯ ครบทุกฐานฝึกภายในเวลา 6 เดือน แล้ว วิทยาลัยฯจะ
ให้ผู้เรียนเลือกฐานที่ตนเองสนใจ เพื่อฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญเพิ่มขึ้นอีก 3 เดือน
หลังจากฝึกทักษะและความชำนาญครบตามกำหนดแล้ว ทางวิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง จะจัดส่งผู้เรียนไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการที่ได้ทำข้อตกลงร่วมกันไว้ เป็นเวลา 2 เดือน
หลังจากฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการครบตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ผู้เรียนจะต้องกลับเข้าสู่วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด เพื่อสะสางงานที่ยังทำไม่เสร็จ หรือส่งเอกสารกับครูผู้สอนที่ยังส่งไม่ครบ รวมทั้งสำรวจเครื่องมืออุปกรณ์ให้ครบตามจำนวนที่ควรจะเป็น และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อส่งต่อให้รุ่นต่อไป ระหว่างนี้อาจมีการเตรียมตัวสอบเพื่อขอรับใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานจากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ตามระเบียบและขั้นตอนของศูนย์ฯ
หลังจากผู้เรียน ดำเนินกิจกรรมครบหลักสูตรของโครงการฯแล้วผู้เรียนจะได้รับการรับรองดังนี้
ใบรับรองการผ่านหลักสูตร “อาชีวะสร้างช่างฝีมือ” จากส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ใบรับรองการผ่านหลักสูตรของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์
ถ้าสอบผ่านการประเมินมาตรฐานฝีมือแรงงาน จะได้รับใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน