เสลดพังพอนตัวเมีย - เรื่องทั่วไป - โครงการ อาชีวะสร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์


เสลดพังพอนตัวเมีย
  ครูอ๊อด รฐศาสตร์
  รายละเอียด   ส่งข้อความ โพสต์เมื่อ : 24 กรกฎาคม, 2565, 15:39:55 PM 144 0


เสลดพังพอนตัวเมีย (พญาปล้องทอง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.f) Lindau.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง) เสลดพังพอนตัวเมีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปรีแคบขอบขนาน กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ขึ้นตามป่า หรือปลูกกันตามบ้าน ขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำ เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า พญายอ และตำรายาไทยนิยมนำมาทำยา
ส่วนที่ใช้ : ส่วนทั้ง 5 ใบสด ราก

สรรพคุณ
ส่วนทั้ง 5 - ใช้ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวก
ใบ - นำมาสกัดทำทิงเจอร์และกรีเซอรีน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริ่ม Herpes และรักษาแผลร้อนในในปาก Apthous ตับพิษร้อน แก้แผลน้ำร้อนลวก
ราก - ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว

วิธีและปริมาณที่ใช้
รักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด
- ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสด 10-20 ใบ (เลือกใบสีเขียวเข้มสดเป็นมันไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป)นำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล
- ใช้ใบเสลดพังพอน 1,000 กรัม หมักใน alcohol 70 % 1,000 ซีซี. หมักไว้ 7 วัน นำมากรองแล้วเอาไประเหยให้เหลือ 500 ซีซี. เติม glycerine pure ลงไปเท่ากับจำนวนที่ระเหยไป (500 ซีซี.) นำน้ำยาเสลดพังพอนกรีเซอรีนที่ได้ทาแผลเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก ถอนพิษต่างๆ
ทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยเป็นผื่นคัน
- ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี
แก้แผลน้ำร้อนลวก
- ใช้ใบตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง
- นำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี

สารเคมี
ราก พบ Betulin, Lupeol, β-sitosterol
ใบ พบ Flavonoids

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กรกฎาคม, 2565, 15:42:38 PM โดย TheScan »