มะขามป้อม - เรื่องทั่วไป - โครงการ อาชีวะสร้างช่างฝีมือ ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส วิทยาลัยการอาชีพโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์


มะขามป้อม
  ครูอ๊อด รฐศาสตร์
  รายละเอียด   ส่งข้อความ โพสต์เมื่อ : 13 กรกฎาคม, 2565, 07:59:04 AM 134 0


มะขามป้อม


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.
ชื่อสามัญ : Emblic myrablan, Malacca tree
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่ออื่น : กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

ส่วนที่ใช้ : ผลสด น้ำจากผล

สรรพคุณ
ผลสด - โตเต็มที่ รสเปรี้ยวอมฝาด จะรู้สึกหวานตาม แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคลักปิดลักเปิด เป็นผลไม้ที่มีไวตามินซีสูง
น้ำจากผล - แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

วิธีและปริมาณที่ใช้
ใช้ผลโตเต็มที่ไม่จำกัดจำนวน กัดเนื้อเคี้ยวอมบ่อยๆ แก้ไอ หรือใช้ผลไม้สด 10-30 ผล ตำคั้นน้ำรับประทาน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

สารเคมี : มะขามป้อมสดมีไวตามินซีประมาณ 1-2 % มะขามป้อม 1 ผล มีปริมาณไวตามินซีเท่ากับที่มีในส้ม 2 ผล นอกจากนี้พบ nicotinic acid, mucic acid, ellagic acid และ phyllemblic acid.

วิธีทานมะขามป้อม เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด – 19
  • สูตรทานมะขามป้อมแก้ไอ ให้ใช้เนื้อที่เป็นผงสด ครั้งละประมาณ 2 – 5 ผล โขลกให้หยาบจนเกือบแหลกๆ ผสมกับเกลือเล็กน้อยใช้อมหรือเคี้ยววันละ 4 ครั้ง
  • ทานมะขามป้อมแก้ไอ เจ็บคอ ปากเเห้ง เเบบน้ำ ให้ใช้ผลสดๆ ประมาณ 30 ผล ตำนำมาคั้นให้มีน้ำ เพื่อใช้ดื่มบ่อยๆ

ข้อควรระวัง
ผู้ที่หนาวง่าย มีปัญหาเลือดจาง เเละ ท้องเสียง่าย ไม่ควรทานมะขามป้อมในปริมาณมาก เเละเกินความจำเป็น