สมอพิเภก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
ชื่อสามัญ : Beleric myrobalan
วงศ์ : Combretaceae
ชื่ออื่น : ลัน (เชียงราย) สมอแหน (กลาง) แหน แหนขาว แหนต้น (เหนือ) สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 13-19 ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6-10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่ ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10-15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข่ ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผล กลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ
ส่วนที่ใช้ : ผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดใน ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก
สรรพคุณ
ผลอ่อน - มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย
ผลแก่ - มีรสฝาด แก้โรคในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน
เมล็ดใน - แก้บิด บิดมูกเลือด
ใบ - แก้บาดแผล
ดอก - แก้โรคในตา
เปลือกต้น - ต้มขับปัสสาวะ
แก่น - แก้ริดสีดวงพรวก
ราก - แก้โลหิต อันทำให้ร้อน
ขนาดและปริมาณที่ใช้
ขับปัสสาวะ - ใช้เปลือก ต้น ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ
เป็นยาระบาย ยาถ่าย - ใช้ผลโตแต่ยังไม่แก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว
เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค) - ใช้ผลแก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน
สรรพคุณของสมอภิเภก
วิธีทานสมอภิเภก เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด – 19
สูตรพิกัดตรีผลา ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค ปรับสมดุลในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ โดยต้องใช้สมุนไพรชนิดอื่นร่วมด้วยเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเเละให้ประโยชน์รอบด้าน
สูตรน้ำพิกัดตรีผลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
ชื่อสามัญ : Beleric myrobalan
วงศ์ : Combretaceae
ชื่ออื่น : ลัน (เชียงราย) สมอแหน (กลาง) แหน แหนขาว แหนต้น (เหนือ) สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-35 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 13-19 ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6-10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่ ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10-15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข่ ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผล กลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ
ส่วนที่ใช้ : ผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดใน ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก
สรรพคุณ
ผลอ่อน - มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย
ผลแก่ - มีรสฝาด แก้โรคในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน
เมล็ดใน - แก้บิด บิดมูกเลือด
ใบ - แก้บาดแผล
ดอก - แก้โรคในตา
เปลือกต้น - ต้มขับปัสสาวะ
แก่น - แก้ริดสีดวงพรวก
ราก - แก้โลหิต อันทำให้ร้อน
ขนาดและปริมาณที่ใช้
ขับปัสสาวะ - ใช้เปลือก ต้น ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ
เป็นยาระบาย ยาถ่าย - ใช้ผลโตแต่ยังไม่แก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว
เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค) - ใช้ผลแก่ 2-3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน
สรรพคุณของสมอภิเภก
- ผลสมอภิเภกเเห้ง ช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอ ได้เป็นอย่างดี
- ผลสมอภิเภกเเบบแห้ง ช่วยบำรุงร่างกาย กระตุ้นให้เจริญอาหาร
- ผลอ่อนของสมอภิเภกจะมีรสเปรี้ยว ช่วยเเก้ไข้ได้ดี
- เป็นสมุนไพรกลุ่มที่ช่วยเรื่องการไหลเวียนของโลหิต เเก้วิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน
- สมอภิเภกมีฤทธิ์ช่ยต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ได้
- ช่วยลดความดันโลหิต
- ลดระดับบคอเรสเตอรอลในเลือด
- ช่วยลดอาการอักเสบ เเละรักษาสิวได้ด้วย
วิธีทานสมอภิเภก เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด – 19
สูตรพิกัดตรีผลา ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค ปรับสมดุลในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ โดยต้องใช้สมุนไพรชนิดอื่นร่วมด้วยเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเเละให้ประโยชน์รอบด้าน
สูตรน้ำพิกัดตรีผลา
- เตรียมมะขามป้อม 45 กรีม สมอภิเภก 30 กรัม เเละ สมอไทย 15 กรัม นำมาล้างให้สะอาด
- ตั้งน้ำ 3 ลิตรให้เดือด เเละใส่สมุนไพรที่จัดเตรียมไว้ลงไป
- ต้มให้เดือดจนปริิมาณน้ำลดลง เหลือประมาณ 1.5 ลิตร
- ทิ้งไว้ให้พออุ่นๆ สามารถดื่มจิบได้ทั้งวัน